ประวัติความเป็นมา – Founding History

กำเนิดคริสตจักรยิวเมี่ยนในประเทศไทย

หลังจากที่ประเทศจีนเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์แล้ว มิชชันนารีถูกขับออกจากประเทศจีนรวมทั้งคณะของ ซี.ไอ.เอ็ม. (China inland mission) ก็ต้องถอนตัวออกจากประเทศจีนด้วย ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อคณะเป็น โอ.เอ็ม.เอฟ. (Owensea Mission Fellowship) และได้นิมิตที่ชัดเจนจากพระเจ้าให้เบนเป้าหมายการทำงานจากประเทศจีนมาเป็นประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในราว ค.ศ.1950 มิชชั่นนารี โอ.เอ็ม.เอฟ. ได้มาทำงานในประเทศไทยอย่างเป็นทางการโดยประสานงานกับสภาคริสตจักรในประเทศไทย และนับเป็นคณะที่มีบุคลากรมากกว่าในคณะอื่นๆ ในขณะนั้น คณะโอ.เอ็ม.เอฟ. ได้ทำงานกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทยและบางส่วนได้ทำงานอยู่ตามชาวเขาเผ่าต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทยสำหรับการทำงานกับยิวเมี่ยนนั้นปรากฏข้อมูลดังนี้

การบุกเบิกโดยมิชชั่นนารี

ในเดือนกรกฏาคม ค.ศ.1951 มีมิชชันนารีสองคนมาสำรวจดูว่าในประเทศไทยมีพี่น้องชาวเขาเผ่าอะไรบ้าง มิชชันนารีสองคนนี้ชื่อ Orville cawson และ Hap holsinger แต่พี่น้องเมี่ยนเรียกเขาว่า “ย่าง จือฮิน” และ “ย่างจื้-อฮ่วย” ท่านทั้งสองเคยทำงานกับพี่น้องลีซูในยูนานประเทศจีนมาก่อน ก่อนที่จะมาประเทศไทย เมื่อทราบว่าบริเวณหมู่บ้านแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย มีพี่น้องลีซูอาศัยอยู่ จึงคิคไปหาและทำการประกาศกับเผ่าดังกล่าวเหมือนที่เคยทำมาในประเทศจีน ขณะที่ไปก็ได้หลงทางไปหมู่บ้านยิวเมี่ยน คือหมู่บ้านแม่สลอง (ปัจจุบันเรียกบ้านเล่าสิบ) และได้พบอักษรจีนที่ท้ายหมู่บ้านเป็นการทำขวัญของคนหมู่บ้านนั้น จึงสร้างความแปลกใจอย่างมากจึงทำให้มิชชันนารีทั้งสองแวะเข้าหมู่บ้านนั้นเพื่อพิสูจน์ความจริง เมื่อทั้งสองเข้าไปก็ได้พบนายชุนเสี่ยว แซ่ฟุ้ง พบว่าเขาสามารถพูดภาษาจีนยูนานได้จึงสนทนากันรู้เรื่อง ข่าวนี้ได้ไปทั่วหมู่บ้านจนถึงหูนายเล่าหลู่(ก๊วยชีง) ซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน แรกๆ ก็เข้าใจผิดทำให้กลัวมากเพราะคิดว่าเป็นทหารฝรั่งเศสมาตามให้ตนกลับไปยังประเทศลาว จึงหนีไปหลบซ่อนเสีย ต่อมาเมื่อรู้ว่าไม่ใช่เป็นหหารที่ตามตนกลับไปก็ออกจากที่หลบซ่อนกลับให้การต้อนรับเป็นอย่างดีและได้คุยคุยกับมิชชันนารีแลกเปลี่ยนความคิดกันในด้านศาสนา นายเล่าหลู่ให้ความสนใจอย่างมากในเรื่องที่มิชชันนารีได้เสนอ เขาจึงชวนให้มิชชันนารีค้างที่นั่นสองคืน จึงเป็นโอกาสที่นายเล่าหลู่ได้สอบถามหลายอย่างจากมิชชันนารีในเรื่องที่ตนอยากรู้ เช่น เรื่องพระผู้สร้าง ผี มนุษย์มาจากไหน แต่ท่านก็มิได้รับเชื่อ
1.      ผลงานครั้งแรก

ในขณะที่ยังไม่มีใครรับเชื่อ Allvn cooke ได้มารับช่วงต่อจาก Carlson และ Holsnger ในปี ค.ศ.1952 Cooke ได้เดินทางเข้าหมู่บ้านแม่สลองเพื่อเผยแพร่พระกิตติคุณ เมื่อไปประกาศครั้งที่ 18 นายเล่าหลู่(ก๊วยชีง) ได้รับเชื่อเป็นคนแรกท่ามกลางพี่น้องยิวเมี่ยนเพราะเข้าใจคำสอนของมิชชันนารีดีแล้ว เมื่อได้รับเชื่อแล้วก็ได้รับการต่อต้านจากครอบครัวแต่ท่านยังยืนยันที่จะเชื่อไม่เปลี่ยนแปลง ท่านก็ได้บอกกับญาติพี่น้องว่าตนจะเชื่อไปพลางๆ ก่อน ถ้าไม่ดีตนก็จะเลิกเชื่อไปเอง เวลาผ่านไปเมื่อคนอื่นเห็นกลับเห็นว่าดีเพราะไม่ต้องเลี้ยงผี ไม่ต้องกลัวอำนาจของผี คนอื่นก็ให้ความสนใจ แต่ก็ยังไม่มีใครรับเชื่อ

เล่าหลู่(ก๊วยซีง) และขาวบ้านสมัยนั้นติดฝิ่นกันแทบทุกคน หลังจากที่ท่านรับเชื่อแล้วก็ได้ตัดสินใจเลิกสูบฝิ่นอย่างเด็ดขาดทั้งๆ ที่ท่านติดมาไม่น้อยกว่า 20 ปีแล้ว Cooke ได้นำนายเล่าหลู่(ก๊วยซีง) และคนอื่นๆ ที่ต้องการเลิกสูบฝิ่นมาตัดที่โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊คจังหวัดเชียงราย โดยอยุ่ในความดูแลของแพทย์ Edmedaniel ซึ่งเป็นมิชชันนารีของคณะเพรสไบทีเรียน ต่อมาประมาณสองเดือนนายเล่าหลู่ก็เลิกสูบฝิ่นได้ เมื่อมีคนรับเชื่อแล้วก็มีมิชชันนารี 2-3 คน ขึ้นไปสอนเป็นบางช่วงสลับกันไปและพักอยู่กับนายเล่าหลู่ (ก๊วยซีง) ไปแต่ละครั้งพักอยู่ประมาณ 10 วันและได้นำยารักษาโรคไปด้วยในแต่ละครั้งเพื่อจะแจกให้แก่ผู้จำเป็นจะต้องใช้ มิชชันนารีนี้ชื่อ Lilian Hamer Sylva Lombrd (เลาเจาซู) และ Eileeno’Rourke และในเดือนธันวาคม 1952 ได้ไปประกาศที่ห้วยชมพู เนื่องจากนายเล่าหลู่ (ก๊วยซีง) เป็นผู้ใหญ่บ้านที่ร่ำรวยและมีอิทธิผลจึงสร้างความสนใจและความไว้วางใจแก่ชาวบ้านทั้งคนในหมู่บ้านและใกล้เคียง ต่อมาจึงมีคนเชื่อเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีคนเชื่อเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีคนเชื่อมากขึ้น นายเล่าหลู่กับคนอื่นๆ จึงเชิญให้มิชันนารีมาอยู่อย่างถาวรในหมู่บ้าน แต่ Cooke ท่านปฏิเสธเพราะไม่ได้คิดว่าจะทำงานในท่ามกลางพี่น้องยิวเมี่ยนตลอดไป แต่ครอบครัวของ Enic Cox ได้ตัดสินใจรับคำเชิญนั้น ในท่ามกลางพี่น้องยิวเมี่ยนจะเรียกท่านว่าก๊วยเม่ง ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1953 ได้เริ่มสร้างที่พักให้และในเดือน พฤษภาคม 1953 ก็ได้ไปอยู่ที่แม่สลองและได้จัดตั้งคริสตจักรแห่งแรกขึ้นที่แม่สลองในเดือนมกราคม 1954 ได้ถวายโบสถ์อย่างเป็นทางการและในแต่ละอาทิตย์จะมีคนมานมัสการประมาณ 60-70 คน ทุกวันอาทิตย์จะมีการนมัสการสองรอบ ช่วงเช้า 1 รอบและช่วงบ่าย 1 รอบ และเริ่มมีคนออกไปประกาศในหมู่บ้านใกล้เคียง

 

2.      การเริ่มต้นใช้ภาษายิวเมี่ยน

การปรับตัวของมิชชันนารี เริ่มแรกต้องใช้ภาษาจีนยูนานหรือจีนฮ่อในการสอน การเทศนาโดยใช้ล่ามแปล แต่ไม่ค่อยสะดวกเพราะบางคำอธิบายยากและศัพท์ศาสนศาสตร์ยิ่งอธิบายได้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ประกอบกับสถานการณ์ในประเทศไทยเวลานั้นถูกกลุ่มอิทธิพลของกลุ่มคอมมิวนิสต์รบกวนและภาษาจีนยูนานเป็นภาษาที่ใช้กันในประเทศคอมมิวนิสต์ด้วย มิชชันนารีจึงหลีกเลี่ยงการใช้ภาษายูนานให้น้อยลงเพื่อกันความเข้าใจผิดจากรัฐบาลไทย แต่เนื่องจากมิชชันนารีไม่มีพื้นฐานภาษาไทยเลย จึงใช้ภาษาจีนต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อการฝึกภาษายิวเมี่ยนเพราะเห็นว่าจะเป็นผลดีอย่างมาก เมื่อฝึกภาษายิวเมี่ยนได้เพื่อจะใช้ในการแปลพระคัมภีร์และขยายพระกิตติคุณได้ดีกว่า

ในปี ค.ศ.1955 ได้มีการตัดสินร่วมกันว่าจะใช้อักษาโรมันเพื่อเป็นคำของภาษายิวเมี่ยนและในเดือนกุมภาพันธ์ ก๊วยเม่ง (Enix Cox) ได้เริ่มสอนพี่น้องคริสเตียนในการเรียน การอ่าน และก๊วยเม่งเริ่มเขียนหนังสือเกี่ยวกับหลักข้อขั้นพื้นฐานของคริสเตียนและได้กำหนดศัพท์บางคำขึ้นว่าจะใช้เรียกอะไร เช่น คำว่า พระเจ้า จะเรียกอย่าง? และท่านเห็นว่าคริสตจักรเติบโตช้ามากในด้านฝ่ายจิตวิญญาณมีหลายคนไม่ได้อยากเชื่อ เพื่อรับความรอดจริงๆ เขาเพียงแต่อยากลองว่าพระเจ้ามีฤทธิ์อำนาจเหนือผีจริงหรือไม่เท่านั้น และยังมีหลายคนที่ติดฝิ่งอยู่

เมื่อมีอักษรเป็นของยิวเมี่ยนแล้วก็เริ่มแปลพระคัมภีร์ พระคัมภีร์เล่มแรกที่แปลเสร็จคือ 1ยอห์น และคำอุปมา 4 เรื่อง และหนังสืออื่นๆ อีก และในปีเดียวกันนี้เริ่มมีการใช้เพลงนมัสการและมีการใช้หนังสือชวนอ่าน(เยซู คู้ เฝียน) ซึ่งเป็นชีวประวัติบางตอนของพระเยซู จากพระกิตติคุณ ทำให้คริสตจักรเติบโตในความเชื่อ มีใจร้อนรนขึ้น จึงได้จัดให้มีทีมประกาศอนุชนไปประกาศยังหมู่บ้านอื่นๆ และในปี ค.ศ.1959 กลุ่มคริสเตียนทางเชียงคำเขาใช้อักษรไทยที่พูดเป็นภาษาไทยยิวเมี่ยน

3.      การรับบัพติศมาครั้งแรก

ในช่วงแรกมีเพียงนายเล่าหลู่เท่านั้นที่จะรับศีลบัพติศมาและท่านก็ได้ชวนนายก๊วยเซ็งให้รับศีลบัพติศมาด้วย เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบในคืนวันเสาร์ แต่พอวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันที่จะให้ศีลบัพติศมาก็มีคนขอรับเพิ่มอีกเป็น 13 คน แล้วก็ได้มีการร่วมรับศีลมหาสนิทซึ่งเป็นครั้งแรก การให้ศีลบัพติศมาครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม 1957 และการรับศีลบัพติศมา ครั้งที่สองมีขึ้นในวันที่ 12 มกราคม 1958 มีจำนวน 8 คน และการรับศีลบัพติศมาครั้งที่สามมีขึ้น ในวันที่ 3 กันยายน 1958 มีคนรับเพิ่มอีก 7 คน

ต่อมาให้รับบัพติศมาอีกหลายครั้งและผู้ที่รับบัพติศมานั้นมากจากหมู่บ้านที่ต่างกัน เช่น บ้านแม่แพง บ้านป่าคา บ้านหนองแว่น บ้านนิคม บ้านขุนบง และบ้านคลองลาน รวมผู้รับบัพติศมาแล้วประมาณ 249 คน

————————————————————

THE BIRTH OF THE YUMIEN CHURCH IN THAILAND

After the government of China became communist, the missionaries of CIM (China Inland Mission) were expelled from the country.  The name of the organization was changed to OMF (Overseas Missionary Fellowship) around 1950 as they received a clear vision from the Lord to serve in southeast Asian countries other than China.  OMF missionaries formally began work in Thailand in cooperation with CCT (The Church of Christ in Thailand).  At the time, OMF personnel were the largest group within CCT, and they were scattered in their work in every area of Thailand, with missionaries who worked with various hill tribes in north Thailand, including the Yumien tribe.

Missionary Church-Planting

In July of 1951 two missionaries came to survey which hill tribes were present in Thailand.  Their names were Orville Carlson and Hap Holsinger, but Mien people called them “Yaang Juehin” and “Yaangjue-Huay.”  These two missionaries had formerly worked with Lisu people in the Yunan province of China.  When they discovered that there were Lisu people around the village of Mae Salong, Amphoe (district) Mae Jan, Chiang Rai province of Thailand, they decided to go and live there and evangelize the Lisu there as they had in China.  As they were travelling to the their Lisu target village, they got lost and ended up in a Yumien village instead, which was formerly called Mae Salong, but now is called Laosip.  Orville and Hap were very surprised to see a sign for blessing at the edge of the village written in Chinese characters, so they felt compelled to enter the village and find out about the Chinese writing.

When they entered the village they met Mr. Chunsiaw Saefung and found he could speak the Yunan dialect of Chinese, and therefore they could converse and understand each other.  News of the two visitors spread through the entire village and came to the ears of Mr. Laoluu (Guayseeng) who was the first head of the village.  He misunderstood about the visitors and became very frightened, because he thought they were French soldiers coming to deport him back to Laos, so he fled and hid himself.  When Mr. Laoluu found out the missionaries were not soldiers, he came out of hiding and welcomed them hospitably.  They talked extensively and each shared about their faith with each other.  Mr. Laoluu was very interested in the missionaries’ faith, and he invited them to stay two nights in the village so that he could further ask them all sorts of questions about topics such as:  the Creator, evil spirits, the origin of human life.  However, on that occasion, Mr. Laoluu did not yet believe in Jesus.

1. The Firstfruits

Before there were any conversions to Christ, Allen Cooke came to take over from Carlson and Holsinger in 1952.  Cooke travelled to Mae Salong village to share the Gospel, and on his 18th time going to evangelize in the village, Mr. Laoluu (Guayseeng) had come to a good understanding of the missionaries’ teaching.  So he placed his trust in Christ, becoming the first Yumien believer.  When he became a Christian, Laoluu began to be opposed by his family, but he stood firm in his faith.  He told those who opposed him that he would believe for a while first, and then if it was not good, then he would make the decision himself to stop believing.  Others began to take notice that Laoluu did not have to make offerings to the spirits or fear the spirits’ power.  Therefore people showed some interest in the Gospel, but still nobody else believed.

At that time Laoluu and virtually everybody else in the village was addicted to opium.  Even though Laoluu had smoked opium for over 20 years, he was able to make the decision to quit smoking altogether.  Cooke led Laoluu and some others who needed to quit to come and break their addiction at Overbrook Hospital in Chiang Rai province in the care of Dr. Edna Daniel who was a Presbyterian missionary.  In about 2 months, Laoluu was able to break his opium addiction.

When there were some converts to Christ in the village, there were about 2 or 3 missionaries who took turns going to teach in the village.  They would go and stay with Laoluu for about 10 days each time, and bring medicines to help heal various diseases and freely distribute them as needed.  Some of the missionaries who did this were Lilian Hamer, Sylva Lombard (Laojaosuu) and Eileen O’Rourke.  In December 1952 they had opportunity to go evangelize at HuayChomphuu village, because the influence and trust that Laoluu (Guayseeng) had as a rich and respected village leader was causing other Mien villagers around MaeSalong to be interested in his faith and trust his testimony.  So the number of conversions to Christ increased.  Laoluu and others invited the missionaries to come and live in their village permanently, but Cooke rejected the offer because he did not think the vision was to work with the Yumien tribe indefinitely.  But the Eric Cox family decided to accept the invitation.  Amongst the Mien people, he is called “Guaymaeng.”

On February 24, 1953, construction began on a house for the Cox family, and in May 1953 they moved to MaeSalong village.   January of 1954 they founded the first Yumien church of MaeSalong.  The believers formally dedicated a church building, and every week they had about 60-70 people come to worship.  They had to have two worship services: one on Sunday mornings, and one in the afternoon.  They also began to go out to nearby surrounding villages to evangelize.

2. Beginning to Use the Yumien Language

In the beginning of the work with the Yumien tribe, the missionaries had to adjust to working in Thailand rather than China, and still had to use their familiar Chinese language for teaching, either the Yunan or Hou dialect. While preaching, the missionaries had to use a translator, but this was not convenient. Some words were difficult to explain, and some theological words they were not able to explain as clearly as they should. Also, because of the political situation in Thailand during that time, the Mien Christians were being harassed by an influential Communist group, and the Yunan dialect of Chinese was a language used in Communist areas. So the missionaries began to reduce their use of the Yunan dialect with the goal to avoid using it altogether in order to prevent misunderstandings on the part of the Thai government. But because the missionaries did not yet speak Thai, they needed to use Chinese temporarily. However, they began to study and practice the Mien language, because they saw that it would bear much good fruit in that they could translate the Bible into Yumien and spread the Gospel more effectively.

In 1955 a group decision was made to use the Roman alphabet as the written script for the Yumien language, and in February Guaymaeng (Eric Cox) began to teach his Christian brothers and sisters to read. Guaymaeng began to write a book about the foundations of the Christian faith, so he had to make some decisions about how to translate certain words such as ‘God’ – what Mien word should be used?

Cox saw that the church was growing very slowly in the spiritual side of things, and many people did not want to believe in order to receive true salvation. They merely wanted to test and see if God really had power over the spirits. Also, many people were still addicted to opium.  In the same year (1955), the church began to have worship songs [in Mien], and began to use an inviting evangelistic book [or tract] in Mien language entitled Jesus Khuu Fiyan, which included some excerpts of the life of Jesus from the Gospels. These things helped the church to grow in faith and be more zealous. Therefore, an evangelistic youth team set out to share the Gospel in other villages. In 1959, a group of Christians in amphoe Chiang Kham [Phayao province] began using the Thai writing system to spell Yumien words.

3. The First Baptisms

In the beginning of the Yumien work, only Mr. Laoluu was baptized, and he invited Mr. Kuayseng to be baptized also. When they agreed together upon the details, they let the church know on Saturday night. But when Sunday came an additional 13 people wanted to be baptized!  After that, the Yumien church celebrated its first Eucharist. The first baptisms happened on the 8th of December 1957, and the second round of the baptisms of 8 people occurred on the 12th of January 1958. The third set of baptisms was on the 3rd of September 1958, with 7 people taking part on that occasion.  After that, there were many more baptisms, with the people coming from many different villages such as: Ban Maephang, Ban Paakhaa, Ban Nongwan, Ban Nikhom, Ban Khunbong, and Ban Khlonglaan with about 249 people being baptized altogether.