ประวัติความเป็นมา – History of the Founding of ACT Hmong

1.      คริสตจักรม้งเกิดได้อย่างไร

 1.1  ในปีคศ.1953 มิชชั่นนารีคณะโอเอ็มเอฟได้เริ่มประกาศข่าวประเสริฐแก่ชาวม้งที่จังหวัดตาก ที่หมู่บ้านห้วยน้ำเหลือง มิชชั่นนารีชื่อภาษาม้งว่า อาจารย์ หล่อตั๋ว (otto scheuzer) ในเดือนตุลาคมปีนั้นมีผู้เชื่อ 5 ครอบครัว ต่อมาอีก 2 เดือนก็มีคนมาเชื่อเพิ่มอีก 9 ครอบครัว แต่ก็มีปัญหาเกิดขึ้นคือหลังจากนั้น 3 เดือนได้มีชาวม้งกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากประเทศลาวบอกว่า ชาวฝรั่งชอบกินคน จึงทำให้ 9 ครอบครัวนี้กลัวและหันกลับไปนับถือผีและบรรพบุรุษอย่างเดิม

1.2  ในปี คศ.1954 มีมิชชันนารี 2 ครอบครัวคือ อาจารย์หวางจ๋ง(Ermie-Heimbaeh) และ อาจารย์เล่าเซ้ง (Don Rulison) ทั้งสองได้นำชาวม้งขาวที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดพิษณุโลก มารับเชื่อหลายครอบครัว

1.3  ในปี คศ.1955-1960 มิชชันนารีชื่อ อาจารย์ย่าหลือ(Carland Bare) มิชชันนารีคณะ เชิรช์ออฟไคร้ส ได้นำชาวม้งดำ(ม้งเขียว) ที่หมู่บ้านก๊างฮู่ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน มารับเชื่อ 2-3 คน

สรุป ข่าวประเสริฐได้มาถึงชาวม้งในประเทศไทย ปี คศ.1953 รวมประมาณ 55 ปีมาแล้ว

2.      นักศึกษาพระคัมภีร์รุ่นแรก

ในปี คศ.1969-1971 ได้มีผู้เชื่อที่ถวายตัวไปเรียนพระคัมภีร์ที่พระคริสตธรรมพะเยาทั้งหมด 9 คนบางท่านก็ยังเป็นโสด และบางท่านก็มีครอบครัวแล้ว หลังจากนั้นก็รับใช้ร่วมกับมิชชันนารีคณะโอเอ็มเอฟตลอดมา จนมีชาวม้งมารับเชื่อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

3.      ประวัติการรวมตัวของคริสตจักรสัมพันธ์ภาคม้ง

3.1  ปี คศ.1978 คริสตจักรม้งทั้งหมดได้มีการรวมตัวและมีการเลือกตั้งคณะกรรมการขึ้นเป็นครั้งแรก

3.2  ปี คศ.1981 ได้มีมติตกลงใช้ชื่อภาษาม้งว่า “cov ntseeg mob sws koom teg huv thaib teb” โดยใช้อักษรย่อ “S.K.T” ซึ่งมีความหมายว่า “ร่วมมือกัน”

3.3  ปี คศ.1988 เริ่มมีการเช่าบ้านเพื่อใช้เป็นสำนักงาน ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

3.4  ปี คศ.1992 วันที่ 10 มีนาคม ได้ซื้อบ้าน 1 หลังพร้อมที่ดิน (เลขที่ 32/3 หมู่ 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่) เพื่อใช้เป็นสำนักงาน โดยได้รับการถวายจากมิชชันนารีโอเอ็มเอฟ คริสเตียนที่อยู่ต่างประเทศเช่น คริสเตียนม้งในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนนาดา คริสเตียนม้งในประเทศไทย และพี่น้องคริสเตียนม้งในศูนย์อพยพบ้านวินัย จังหวัดเลย

4.      คริสตจักรสัมพันธ์ภาคม้งได้แบ่งการบริหารเป็น 5 เขตดังนี้

เขต 1 คือ จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และโซน อ.เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

เขต 2 คือ จังหวัดพะเยา น่าน และแพร่

เขต 3 คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เขต 4 คือ จังหวัดเชียงราย

เขต 5 คือ จังหวัดตาก กำแพงเพชร และสุโขทัย

คริสตจักรสัมพันธ์ภาคม้งเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของคริสตจักรม้งในประเทศไทยที่มีความเชื่อเหมือนกัน ยอมรับระเบียบข้อปฏิบัติต่างหๆ ภายใต้ธรรมนูญเดียวกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และร่วมมือทำพันธกิจของพระเจ้าตามพระมหาบัญชาของพระเยซูคริสต์

5.   เป้าหมายและนโยบายหลักของคริสตจักรสัมพันธ์ภาคม้ง คือ คริสตจักรเลี้ยงตัวเอง

5.1  การปกครองด้วยตนเอง

5.2  บริหารงานด้วยตัวเอง

5.3  เข้าใจในการถวายด้วยตัวเอง

5.4  ประกาศด้วยตัวเอง

5.5  เลี้ยงดูศิษยาภิบาลด้วยตัวเอง

6.      ความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ และพันธกิจต่างๆ

6.1  คริสตจักรสัมพันธ์ภาคม้งยินดีร่วมมือกับองค์กร หน่วยงาน และบุคคลอื่นที่มีความเชื่อสอดคล้องกันและยอมรับระเบียบซึ่งกันและกันภายใต้ธรรมนูญ และมีเป้าหมายอันเดียวกันที่คือเลี้ยงดูฝ่ายวิญญาณและประกาศสข่าวประเสริฐนำดวงวิญญาณมาถึงพระเจ้าตามพระมหาบัญชา (มธ.28:19)

6.2  คริสตจักรสัมพันธ์ภาคม้งมีเป้าหมายในการทำพันธกิจต่างประเทศ

 

7. ความเป็นมาของพระคัมภีร์ภาษาม้ง

7.1  ในปี คศ.1965 ได้มีคนม้งท่านหนึ่งและมิชชันนารีหนึ่งท่านเริ่มการแปลพระคัมภีร์ภาษาม้งอยู่ที่หมู่บ้านเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ต่อมาปี คศ.1966 เห็นว่าทั้งสองก็ได้แยกทางกัน ไม่มีการแปลอีก โดยสันนิษฐานว่าทั้งสองคงทำงานร่วมกันไม่ได้ สำหรับมิชชันนารีได้ไปร่วมกับม้งสองท่านคือ คุณเช่ง แซ่โซ้ง และย่าเน้ง แซ่เฮ่อ แปลพระคัมภีร์อยู่ที่ประเทศลาว ส่วนคนม้งนั้นก็ยังร้อนรนและตั้งใจแปลพระคัมภีร์ โดยแปลจากภาษาไทยมาเป็นภาษาม้งขาวและทำคนเดียวต่อไป

7.2  ในปี คศ.1973 ได้มีคนม้งสองคนมาช่วยตรวจและมีมิชชันนารีคณะโอเอ็มเอฟชื่อ เท็ด ช่วยดูภาษาเดิมให้เขาแปลด้วย งานแปลได้ดำเนินไปได้ไม่ถึงปี คนม้งสองคนนี้ก็ได้วางมือไม่ช่วยตรวจอีก สาเหตุเพราะทำงานร่วมกันไม่ได้เนื่องจากว่าคนแปลไม่ค่อยยอมให้สองคนที่ช่วยตรวจนั้นแก้ไขบางอย่าง ส่วนมิชชันนารีกับคนม้งที่ปลงนั้นก็ทำงานยาก มิชชันนารีที่ช่วยดูทั้งภาษาฮีบรูและภาษาอังกฤษนั้นได้ขอให้คนม้งใช้ภาษาม้งที่ถูกต้องตามความหมายจริงๆ แต่คนม้งก็ไม่ยอมทำตามที่แนะนำจึงเป็นเหตุให้ทำงานต่อไปไม่ได้

มิชชันนารีได้บอกกับม้งคนนี้ว่าการแปลพระคัมภีร์ จะต้องทำตามระเบียบที่สมาคนแปลพระคัมภีร์ได้วางไว้ แต่ม้งคนนี้ก็ไม่ยอม โดยอ้างว่าหลายคนก็มีปัญหาหลายอย่างจึงทำต่อไปไม่ได้ ส่วนมิชชันนารีถูกเรียกให้กลับไปช่วยดูแลงานการแปลพระคัมภีร์ที่สมาคนพระคริสตธรรมไทยกรุงเทพ ส่วนคนม้งก็ยังทุ่มเทแปลจากภาษาไทยมาเป็นภาษาม้งจนเสร็จพระธรรมปฐมกาล แล้วก็มีมิชชันนารีญี่ปุ่นท่านหนึ่งได้นำไปให้สมาคมพระคริสตธรรมพิมพ์ แต่เมื่อมีการตรวจสอบแล้วทางสมาคมไม่ยอมพิมพ์ให้ เพราะว่าไม่ได้ทำตามที่ทางสมาคมได้กำหนดไว้ มิชชันนารีญี่ปุ่นคนนี้จึงลงทุนเอง นำไปให้โรงพิมพ์หนังสือแห่งหนึ่งของคริสเตียนในกรุงเทพพิมพ์ได้มา 2,000 เล่ม และได้ส่งไปให้ผู้รับใช้ม้งนำไปขายให้คริสเตียนใช้ แต่ว่าก็ขายไม่ได้ ไม่มีใครนิยมใช้ เนื่องจากเป็นภาษาและเนื้อหาของคนเดียวและภาษาเขียนก็ผิดๆ ด้วย จึงไม่มีใครซื้อ สุดท้ายก็ทิ้งไม่มีใครเก็บไว้ มิชชันนารีคนนี้รู้สึกเสียใจมาก เพราะว่าได้ลงทุนไปประมาณ 20,000 บาท มิชชันนารีก็วางมือไม่ทำอีกต่อไป ท่านบอกว่าเสียดายเงินเปล่าๆ

7.3  ในปี คศ.1976 – 1977 มิชชันนารีคณะโอเอ็มเอฟได้จัดให้มีการอบรมการแปลพระคัมภีร์ขึ้นที่สถาบันพระคริสตธรรมพะเยาเป็นเวลา 6 วัน แต่คนเหล่านั้นก็ไม่ชอบที่จะทำตามที่ทางสมาคมแนะนำด้วย

7.4  พระคัมภีร์ภาษาม้งฉบับล่าสุดได้แปลเสร็จสมบูรณ์ในปี 2004 เนื่องจากมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ยินดีทำตามระเบียบที่ทางสมาคมพระคริสตธรรมแนะนำ คือมีมิชชันนารีคณะเอ็มเอฟ 3 ท่านช่วยดูภาษาเดิม มีศาสนจารย์ล่าเน้ง ชมพูคีรี และผู้รับใช้ม้งหลายท่านร่วมมือช่วยกัน แต่ในขณะกำลังแปลยังไม่เสร็จก็มีบางท่านไม่อยากร่วมมือ เนื่องจากไม่ชอบการแปล และบางท่านก็ถูกคริสตจักรสั่งพักวินัย แต่ในที่สุดก็ได้แปลจนสำเร็จโดยพระเจ้า

 

( ศจ.ล่าเน้ง ชมพูคีรี ผู้ให้ข้อมูล )

8.      ทำเนียบประธานคริสตจักรสัมพันธ์ภาคม้ง

  1.  ศาสนาจารย์ล่าเน้ง ชมพูคีรี                ปี 1978 – 1979
  2. อาจารย์เยี่ยเซ้ง แซ่ย่าง                     ปี 1980 – 1981
  3. อาจารย์ปัญญา สัตยกุล                     ปี 1982 – 1985
  4. อาจารย์เด่น แซ่ย่าง                           ปี 1986 – 1990
  5. ศาสนาจารย์ล่าเน้ง ชมพูคีรี               ปี 1991 – 1996
  6. อาจารย์วุฒิชัย ตระกูลหาญ               ปี 1997 – 2000
  7. อาจารย์ดานีเย็น ชมพูคีรี                    ปี 2001 – 2006
  8. อาจารย์อาคม พงศ์พชร                     ปี 2007 – 2010
  9. อาจารย์สมเพชร กรองมาดี               ปี 2011  –  ปัจจุบัน

9.  ประวัติรายชื่อมิชชันนารีที่เข้ามาประกาศกับชาวม้งในประเทศไทย

 ชื่อภาษาอังกฤษ                                      ชื่อภาษาม้ง

  1. Mr.Otto Scheuzer                                (xf.Lostuam)
  2. Mr.Ernie Heimbach                             (xf.Vaamtxoov)
  3. Mr.Malter Moody                                  (xf.Nyajtsaab)
  4. Mr.Derek Hawkins                               (xf.Npuagmaab)
  5. Mr.John Farni                                      (xf.Yauhaas)
  6. Mr.Robin Talbot                                   (xf.Nyajleej)
  7. Mr.Royorpin                                          (xf.Txhiajxab)
  8. Ms.Doe Jones                                     (xf.Txoovmim)
  9. Ms.Barvara Good                                (xf.Ntxheb)
  10. Ms.Barbara Hey                                  (xf.Nplas)
  11. Ms.France Bailey                                (xf.Ntxawm)
  12. Ms.Sally Grey                                      (xf.Maivnyaj)
  13. Ms.Doris Whitelock                             (xf.Pajmim)
  14. Mr.Don Rulison                                   (xf.Laujxeeb)
  15. Mr.John kane                                      (xh.Huajvam)
  16. Mr.Robert Williams                              (xf.Vaamtsheej)
  17. Mr.Kurt Vogelgsang                             (Zaamkhwb)
  18. Ms.Leona Bair                                     (xf.Ntxhoo)
  19. Ms.Judith Knauf                                  (xh.kabzuag)
  20. Mr.Frank Schattner                             (xf.Faivchoj)
  21. Mr.Bruce Taylor                                   (Txoostsheej)

ทั้งหมดนี้คือมิชชันนารีที่มาประกาศกับชาวม้งในประเทศไทยและสามารถอ่านเขียนและพูดภาษาม้งได้ดีตั้งแต่ปี คศ.1953 เป็นต้นมา จนมีชาวม้งมารับเชื่อจำนวนมากอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ของภาคเหนือ ซึ่งชาวม้งรู้สึกขอบคุณพระเจ้าที่ทรงใช้มิชชันนารีเหล่านี้เพื่อชาวม้ง เขาได้สละบ้านเมือง ญาติพี่น้อง ทุกสิ่งในชีวิตเพื่อพระคริสต์ในท่ามกลางชาวม้ง… “พวกเราชาวม้งรู้สึกจากใจจริงว่าเราเป็นหนี้พระคุณพระเจ้าและเป็นหนี้พี่น้องมิชชันนารีเหล่านี้จริงๆ ที่ได้ทุ่มเททั้งชีวิตทุกอย่าง เพื่อเราจะรู้จักพระเจ้า”

1. The Founding of the Hmong Church

1.1 – In 1953, an OMF missionary began to share the Gospel with Hmong people in Tak province of Thailand, in the village of Huaynamlueang.  The missionary, Otto Scheuzer, is named Ajarn Lotua in the Hmong language.  In October of that year, there were five families who trusted Christ.  In two months time, another nine families became Christians.  But within about three months time a problem arose.  A group of Hmong people who had fled from Laos and moved to the area began spreading the rumor that Western people were cannibals who liked to eat people.  This caused nine of the new Christian families to be afraid and turn back to appeasing spirits and worshipping their ancestors as they had previously.

1.2 – In 1954, two missionary families, the Ermie-Heimbaeh and Don Rulison families, working in Petchabun and Phitsanulok provinces led many White Hmong families to faith in Christ.

1.3 – From 1955-1960, a Church of Christ missionary named Carland Bare led two or three people to Christ in the village of Kanghu, in the ThungChang district of Nan province.

Summary – The Gospel of Christ came to the Hmong people for the first time in 1953, for about the last 61 years.

2. The First Generation of Bible College Students

From 1969-1971 there were about nine Hmong believers, some single, some married with chidren, who offered themselves to the Lord to study at Phayao Bible College.  After studying the Bible, these graduates began serving with OMF missionaries in evangelism and church leadership, the fruit of their labors being continual growth in the Hmong church until present day.

3. The History of the ACT Hmong District

3.1 – In 1978, the Hmong churches first met together as a district of ACT, and elected the first board of directors.

3.2 – In 1981, the Hmong district of ACT agreed to call themselves “cov ntseeg mob sws koom teg huv thaib teb” which is abbreviated as “S.K.T.” and means “Joining Hands Together.”

3.3 – In 1988, the Hmong ACT district rented a house to serve as headquarters and office in the Muang district of Chiang Mai province.

3.4 – In 1992, on the 10th of March, the Hmong district was able to purchase a house with some land to serve as the district office through the offerings of some OMF missionaries, Christians in America and Canada, Hmong Christians in Thailand, as well as Hmong Christians in the Refugee Center of Loei Province. The building and land purchased at that time is the office located at 32/3 M. 4, T. Donkaew, A. Maerim, Chiang Mai province.

4. The Division of the ACT Hmong Group into Five Sub-Districts

Area 1 – Chiang Mai and Lampang provinces, and the zone of Wiangpapao district of Chiang Rai province.

Area 2 – Phayao, Nan, and Phrae provinces.

Area 3 – Maehongson province.

Area 4 – Chiang Rai province (excluding Wiangpapao district).

Area 5 – Tak, Kamphaeng Phet, and Sukothai provinces.

The Hmong district of ACT was founded through the cooperation of Hmong churches in Thailand which had the same faith, agreed to submit to the same system of guidelines and governing principles, in order to help one another and to join hands in fulfilling the Great Commission of Jesus.

5. The Goals and Foundational Principles of are for ACT Hmong to be Self-Sustaining

5.1 – Self-governing

5.2 – Self-administering

5.3 – Self-financed

5.4 – Self-evangelizing

5.5 – Self-supporting pastors

6. Cooperation with Various Organizations and Missions

6.1  The Hmong district of ACT is happy to partner with various organizations, ministry groups, and individuals of similar faith and doctrine which are willing to submit to the constitution of ACT.  Partners must have the same goals as ACT, which is to care for and watch over the spiritual life of people, share the Gospel, and to lead souls to Christ following the Great Commission (Matt. 28:19).

6.2  The Hmong district of ACT has goals to begin mission work in other countries as well as Thailand.

7.  The Translation of the Hmong Bible

7.1  In 1965 a Hmong person and a missionary began to translate the Bible at the village of Khao Kho in Phetchabun province.  But in 1966 the two people split up, and the translation work stopped as it became apparent that the two could not work together.  The missionary went to Laos and found two different Hmong people to join in the work of translation: Chaeng Sasong and Grandmother Naeng Saher.  The Hmong person who had formerly worked with the missionary was still zealous and determined to translate the Bible into the Hmong language from the Thai Bible, so worked alone on this project.

7.2  In 1973 there were two Hmong people who came to help check the language of the translation work, as well as an OMF missionary named Ted, who came to help with the Bible’s original languages.  Thus the translation work went on for not even one year, and then these two Hmong people left, and did not continue in the translation work.  The reason these two left was that they accused the main missionary translator of not allowing them to fix certain language problems.  The missionary and the two Hmong people who received criticism had a difficult time in the work.  The missionary who helped with Hebrew and English languages asked the two Hmong checkers to use Hmong language which was correct following the true Biblical meanings, but the Hmong people did not submit to follow the missionary’s suggestions, and so they found they could not work together.  The missionary had told the Hmong helpers that in translating the Bible they would need to follow the standard established system of Bible translation, but these helpers would not submit to follow the system, claiming that many people had many kinds of problems, so they could not continue the work.

As for the missionary involved in translating the Hmong Bible, he was called to return to help oversee translation work with the Thai Bible Society in Bangkok.  The Hmong translators continued pouring themselves into translating from the Thai Bible into the Hmong language until they completed a translation of Genesis.  Then a Japanese missionary brought the Hmong translator’s version of Genesis to the Bible Society for printing; but upon inspection, they refused to print this translation, because the Hmong translators had not followed the society’s standards.  So the Japanese missionary financed the printing himself, found a Christian printer in Bangkok, and had 2,000 copies printed.  The missionary sent the Hmong version of Genesis out to Christian leaders for them to sell to Hmong Christians to use, but they were unable to sell them.  This version of Genesis proved to be unpopular and not widely used, because it was the writing and content of only one person and was full of mistakes.  So hardly anyone purchased this copy of Genesis.  In the end, these books were thrown out; nobody wanted or saved them.  The Japanese missionary felt very badly about this, because he had invested about 20,000 baht.  He went away empty handed, having decided not to do anything like that again, saying it was a waste of money.

7.3  In 1976-1977 OMF hosted a training on Bible translation for six days at Phayao Bible College, but the Hmong Christians of that time also did not like to submit to the standardized translation system which the training was promoting.

7.4  The final version of the Hmong Bible was finally completed in 2004 because of a group of translators who were pleased to follow the standards of translation required by the Bible Society.  This translation group all worked together, and it included: three OMF missionaries who helped translate from the original languages, Rev. Lanaeng Chomphusiri, and many Hmong Christian leaders.  During the process, some translators realized they did not want to be a part of it because they did not like translation work, while other Hmong leaders faced disciplinary action or suspension because of time taken away from their church ministries.  But in the end, the Lord helped the translation work to be finished successfully.

(information courtesy of Rev. Lanaeng Chomphusiri)

  1. Chairmen of the Board of Directors of ACT Hmong District

1. Rev. Lanaeng Chomphusiri                      1978-1979

2. Pastor Yiasaeng Sayang                            1980-1981

3. Pastor Panha Satyakul                               1982-1985

4. Pastor Daen Sayang                                   1986-1990

5. Rev. Lanaeng Chomphusiri                      1991-1996

6. Pastor Wuthichai Trakunhan                  1997-2000

7. Pastor Daniel Chomphusiri                      2001-2006

8. Pastor Akhom Phongphachon               2007-2010

9. Pastor Somphetr Krongmadee              2011-present

9. Missionaries who evangelized the Hmong in Thailand

                Name in English                          Name in Hmong

  1. Mr.Otto Scheuzer                                (xf.Lostuam)
  2. Mr.Ernie Heimbach                             (xf.Vaamtxoov)
  3. Mr.Malter Moody                                  (xf.Nyajtsaab)
  4. Mr.Derek Hawkins                               (xf.Npuagmaab)
  5. Mr.John Farni                                      (xf.Yauhaas)
  6. Mr.Robin Talbot                                   (xf.Nyajleej)
  7. Mr.Royorpin                                          (xf.Txhiajxab)
  8. Ms.Doe Jones                                     (xf.Txoovmim)
  9. Ms.Barvara Good                                (xf.Ntxheb)
  10. Ms.Barbara Hey                                  (xf.Nplas)
  11. Ms.France Bailey                                (xf.Ntxawm)
  12. Ms.Sally Grey                                      (xf.Maivnyaj)
  13. Ms.Doris Whitelock                             (xf.Pajmim)
  14. Mr.Don Rulison                                   (xf.Laujxeeb)
  15. Mr.John kane                                      (xh.Huajvam)
  16. Mr.Robert Williams                              (xf.Vaamtsheej)
  17. Mr.Kurt Vogelgsang                             (Zaamkhwb)
  18. Ms.Leona Bair                                     (xf.Ntxhoo)
  19. Ms.Judith Knauf                                  (xh.kabzuag)
  20. Mr.Frank Schattner                             (xf.Faivchoj)
  21. Mr.Bruce Taylor                                   (Txoostsheej)

All of these missionaries came to evangelize the Hmong in Thailand and were able to speak, read, and write the Hmong language from 1953 onwards, until many Hmong people trusted Christ in many villages in North Thailand.  Hmong Christians feel thankful to the Lord that He used these missionaries to help Hmong people.  These missionaries sacrificed their homes, nations, family and relatives, and everything in their lives to see Christ come to Hmong people.  “We Hmong people sincerely feel in our hearts that we are indebted to the grace of God, and truly indebted to this group of missionaries who poured out their entire lives so that we could come to know the Lord!”